บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2017

หอไอเฟล(Tour Eiffel)

หอไอเฟล  (ฝรั่งเศส Tour Eiffel ,  ตูร์แอแฟล ) เป็นหอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนช็องเดอมาร์  บริเวณแม่น้ำเเซน  ในกรุงปารีส  เป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งชื่อตามกุลสตาฟ ไอเฟล  สถาปนิกและวิศวกรชั้นนำของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอคอยนี้ หอไอเฟลถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานแสดงสินค้าโลก ในปี ค.ศ. 1889 (Exposition universelle de Paris de 1889) เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และความสวยทางศิลปะสถาปัตยกรรม หอคอยสูงงดงามแห่งนี้เป็นดาวเด่นที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งต่อมาได้รู้จักในนามหอไอเฟลและกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีส และในปี พ.ศ.2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) หรือสูงเท่ากับตึก 81 ชั้น

ดอกไม้ประจำประเทศฝรั่งเศส

ดอกไม้ประจำประเทศฝรั่งเศส ดอกไม้ประจำชาติฝรั่งเศส ดอกไม้ที่อยู่ในสกุลของไอริสมีอยู่มากกว่า 300 ชนิดทั่วโลก และในแหล่งกำเนิดที่ต่างกันก็มักจะทำให้ไอริสมีลักษณะของดอกและสีสันไม่เหมือนกัน ในภาษากรีก ไอริส แปลว่า สายรุ้ง ซึ่งมีตำนานมาจากเทพเจ้าไอริส เทพีแห่งสายรุ้ง แห่งภูเขาโอลิมปัส ไอริสเป็นฑูตสวรรค์ที่คอยส่งสารมายังโลกมนุษย์ตามสายรุ้ง ดอกไอริสจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของ ดวงตาสวรรค์ ไอริสมีใบเลี้ยง 3 ใบ ที่แสดงถึง ความศรัทธา , ความรอบรู้ และความกล้าหาญ กลีบดอก มี 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงด้านนอกอีก 3 กลีบ บุรุษชาวกรีกมักปลูกไอริสไว้บนหลุมศพของหญิงที่เป็นที่รักของเขา เป็นการเคารพต่อเทพธิดาไอริส เพื่อให้นำดวงวิญญาณหญิงที่รักนั้นไปสู่สวรรค์ นอกจากดอกไอริสจะเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศฝรั่งเศสแล้ว ยังถูกนำมาใช้สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และสื่อถึงประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย ดอกไอริสสามารถสวยสดคงทนอยู่ได้ประมาณ 3-7 วัน ดอกที่ยังตูมอยู่มักจะบานอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน การจัดแจกันสำหรับดอกที่ยังตูมอยู่ควรเว้นระยะห่างไว้สำหรับเมื่อดอกบานออกมาแล้วด้วย

ตำนานแหวนแห่ง ‘Joan Arc’ นักรบหญิงชาวฝรั่งเศส

ตำนานแหวนแห่ง ‘Joan Arc’ นักรบหญิงชาวฝรั่งเศส ผู้หยิบอาวุธสู้อังกฤษ และไม่เคยแพ้ชายใดสักครั้ง!! หลายๆคนคงเคยได้ยินเรื่องราวความบาดหมางระหว่างชาวอังกฤษกับฝรั่งเศสในอดีต ซึ่งในอดีตนั้นเค้ารบราฆ่าฟันกันมายาวนานกว่าหลายร้อยปี ในระหว่างนั้นก็มีนักรบที่มีชื่อเสียงโด่งดังเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ  Joan Arc  เป็นนักรบหญิงเพียงคนเดียวที่หยิบอาวุธขึ้นมาสู้รบกับชาวอังกฤษและยังไม่เคยได้รับความพ่ายแพ้เลยแม้แต่ครั้งเดียวจนถูกชาวอังกฤษกล่าวหาว่าเป็นแม่มด เธอจึงถูกนำตัวไปเผาทั้งเป็น เป็นสาเหตุมาจากสมัยยุคกลางที่ศาสนาอยู่เหนืออำนาจการปกครองทุกสิ่ง ณ ตอนนั้น ใครที่ปฏิเสธคำสอนของศาสนาจะถูกตราหน้าว่าเป็นแม่มด เป็นอุบายของเหล่าผู้ปกครองที่ใช้ความกลัวต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ เพื่อทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้การปกครอง และโทษของเหล่าแม่มดก็คือประหารชีวิตด้วยการเผาทั้งเป็น (ซึ่งการตามล่าหาแม่มดนี้ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดบ่อยครั้งไป) แต่อย่างไรก็ตามการกล่าวหาแบบนี้เป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมนัก เพราะไม่มีการพิสูจน์ใดๆเกิดขึ้น(ทำไม่ได้) ใครที่ถูกกล่าวหา และมีข้ออ้างที่สมเหตุสมผลหน่อย ก็จะถูกนำไปประหารได้เลยก่อนจ

ประวัติของ มารี อองตัวเนต "กุหลาบแห่งแวร์ซาย"

ประวัติของ มารี อองตัวเนต "กุหลาบแห่งแวร์ซาย" ตุลาคม ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336) ปิดฉากชีวิตในแวร์ซายส์ของ มารีอองตัวเนต (Marie Antoinette) ราชินีแห่งฝรั่งเศสที่ฝูงชนแสนเกลียดชัง            มาเรีย แอนโทเนีย โจเซปปา โจฮันน่า (Maria Antonia Josepha Johanna)ประสูติเมื่อ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 (พ.ศ. 2298) ณ กรุงเวียนนา (Vienna) เป็นธิดาองค์ที่ 15 ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1(Emperor Francis I) แห่งโรมัน ดยุคใหญ่แห่งแคว้นทัสคานี (แห่งราชสำนักลอเรนน์) กับสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทรีซา (Empress Maria Theresa)แห่งออสเตรีย มารี อองตัวเนตดำรงพระยศเป็น กษัตริย์ แห่งฮังการี และราชินีแห่งแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย (แห่งราชสำนักฮับสบูร์ก) อาร์คดัชเชสมารี อองตัวเนต เติบโตขึ้นที่พระราชวังฮอฟบูร์ก (Hofburg Palace)ในกรุงเวียนนา และ ปราสาทชอนบรุนน์ พระนางใช้ชีวิตเจ้าหญิงแห่งฮังการีแบบอิสระ ถูกเลี้ยงดูมาแบบง่ายๆ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ไม่เข้มงวดดังเช่นราชนิกูลในราชสำนักฝรั่งเศส ในด้านการศึกษานั้น พระนางอ่านออกเขียนได้เมื่ออายุเกือบสิบชันษา เขียนภาษาเยอรมันได้บ้าง พูดภาษาฝรั่งเศสไ